องค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก

Buengkae Subdistrict Administration Organization

ข้อมูลทั่วไป


ออนไลน์ : 5

หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก

ความเป็นมา
                 ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก
องค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศ
กระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 โดยยกฐานะจากสภาตำบลบึงแกเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล                บึงแก  เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540
1. ลักษณะทางด้านกายภาพ
1.1  ที่ตั้ง         
ลักษณะที่ตั้งตำบลบึงแก อำเภอมหาชนะชัย อยู่กึ่งกลางระหว่างตำบลโนนทรายและตำบล
ม่วง  ระยะทาง ห่างจากอำเภอมหาชนะชัย  15  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดยโสธร 43 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร  582 กิโลเมตร ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก อยู่บ้านบึงแก หมู่ที่ 2 อยู่ทิศตะวันออกของอำเภอมหาชนะชัย อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดยโสธร
        ขนาดพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก มีพื้นที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่มีพื้นที่
ทั้งหมดประมาณ 33,556 ไร่  หรือประมาณ  53.69  ตารางกิโลเมตร
          1.2. ลักษณะภูมิประเทศ (แสดงภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก)
ตำบลบึงแก ลักษณะโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ดอน มีห้วย หนอง บึงอยู่รอบๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วตำบล พื้นที่ ลักษณะดิน เป็นดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับ ปานกลาง สภาพพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม การปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์  ภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกลางเดือนตุลาคม และฤดูหนาวจะเริ่มจากกลางเดือนตุลาคมถึงกลางกุมภาพันธ์ และสภาพภูมิอากาศอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมทะเลจีนใต้
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก แบ่งออกเป็น 3 ฤดู  ได้แก่  ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว สภาพภูมิอากาศจัดอยู่ในประเภทภูมิอากาศแบบพื้นเมืองร้อนเฉพาะฤดู  กล่าวคือ จะมีฝนตกเฉพาะฤดูฝน สลับกับช่วงแห้งที่เห็นได้ชัดเจน ลักษณะภูมิอากาศขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์จะอยู่ในฤดูหนาวของประเทศไทย ทำให้มีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดเอาความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝนประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม ทำให้มีฝนตกชุกทั่วไป  ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดยโสธร ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว (ตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์) ทำให้จังหวัดยโสธรมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม) ทำให้มีฝนตกชุกทั่วไป
 
1.4 ลักษณะของดิน 
            เป็นที่ราบลุ่ม บางแห่งเป็นดินเค็ม แต่ส่วนมากเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าว และที่พบส่วนใหญ่ลักษณะของดินเป็นดินที่มีพัฒนาการสูงมีศักยภาพทางการเกษตรต่ำ ดินไม่ค่อยเก็บความชื้น เนื่องจากเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย นอกจากนี้ยังมีดินที่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น ดินเค็ม ดินกรวดลูกรัง ดินศิลาแลง เป็นต้น   (ที่มา:สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด)
 
                1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ  เป็นลำห้วย หนอง คลอง บึง อื่นๆ
            1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้  เป็นป่าสาธารณะประโยชน์
2. ข้อมูลด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง  องค์การบริหารส่วนตำบลบึงแก แบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน
คือ พื้นที่เต็มทั้งหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1,หมู่ที่ 2,หมู่ที่ 9,  /หมู่ที่ 5,หมู่ที่ 10,หมู่ที่ 11, ตำบลบึงแก
คือ พื้นที่บางส่วนของ  หมู่ที่ 3,หมู่ที่ 4,หมู่ที่ 6,หมู่ที่ 7 ตำบลบึงแก
พื้นที่ทั้งหมดจำนวน  33,556 ไร่ หรือประมาณ  53.69 ตารางกิโลเมตร
ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ  582 กิโลเมตร
ห่างจากอำเภอมหาชนะชัย  15  กิโลเมตรและห่างจากศาลากลางจังหวัดยโสธรประมาณ  43 กิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ               อยู่ติดกับตำบลแคนน้อย  ตำบลดงแคนใหญ่  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร
ทิศใต้          อยู่ติดกับตำบลม่วง   อำเภอมหาชนะชัย  จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก อยู่ติดกับตำบลกลางใหญ่  อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี    และตำบลบ้านไท อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก    อยู่ติดกับตำบลโนนทราย  อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
 
วันที่ : 11 เมษายน 2565   View : 2389